หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่1 "จุดเริ่มต้นของการศึกษา"

"จุดเริ่มต้นของการศึกษา"
พระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้ "การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"
จุดเริ่มต้นของการศึกษาต้องเริ่มจากการฟัง
ทำไม? ทำไมถึงข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่าการศึกษาเริ่มต้นจากการฟัง มนุษย์มีนิสัยบางอย่างติดตัวมาตั้งแต่ปฏิสนธิ ด้วยเซลล์สมองเริ่มก่อตัวขึ้นมานับตั้งแต่แรกเกิด และเติบใหญ่ สร้างปมและหยักของเส้นสมองขึ้นมากระทั่งคลอด จากนั้นยังจะพัฒนาการต่อไป ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก จะเป็นตัวอย่างให้เกิดกับเด็กได้ เช่น การอ่าน การอ่านเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ การอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ทำให้เกิดการศึกษาเรียนรู้ การศึกษาเรียนรู้ ทำให้เกิดการสื่อสาร การสื่อสาร ทำให้เกิดการสร้างเครื่องมือสื่อสารถึงกัน เครื่องมือสื่อสาร ทำให้เกิดการบันทึก การบันทึก ทำให้เกิดการสืบทอดสร้างนวัตกรรมต่อยอด ทำให้มนุษย์ไม่ต้องย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นทุกครั้ง ดังนั้น การสร้างนิสัยรักการอ่าน จึงมีช่องทางทำได้หลายประการ ประการแรก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องรักการอ่านเสียก่อน มากน้อยแล้วแต่บุคคลผู้นั้น มีความรู้อยากเห็นมากน้อยเพียงใด เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองมีนิสัยรักการอ่าน บุตรหลานที่ใกล้ชิด ก็จะรักการอ่านตามไปด้วย แม้ไม่ทั้งหมด ว่ากันว่า มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา และไม่เพียงแต่มารดาเท่านั้นที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้กับลูก ผู้เป็นบิดาก็สามารถถ่ายทอดความรักให้กับลูกได้เช่นกัน เพราะในการแสดงความรักต่อกันฉันสามีภรรยา ทำให้ทารกในครรภ์ได้รู้ถึงความรัก ความอ่อนโยนนั้นด้วย
ความข้อนี้ มีหลักฐานทางการแพทย์ ขอให้เสาะหาเองเถิด หลังจากคลอดออกมาแล้ว สภาพแวดล้อมที่สำคัญของทารก คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดคือ "แม่" รองลงมาคือ "พ่อ" ก่อนจะไปถึงญาติพี่น้องคนอื่น สภาพแวดล้อมประการอื่น คือ สถานที่อยู่อาศัย เด็กเริ่มเรียนรู้ที่สังเกตได้ชัดเจน คือ การเรียนรู้ในเรื่องของความอยู่รอดจากอาหาร ไม่ว่าจะจากน้ำนมของแม่ หรือ น้ำนมอื่นที่ใช้เลี้ยงทารก อันเกิดจากการป้อนตามเวลาที่ต้องการ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่ค่อนข้างแน่นอน จากนั้น เด็กจะเรียนรู้จากเสียง แสง สี รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงอื่น แสงสว่าง ความมืด หรือ สีที่เกิดจากแสง การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบข้างตัวเด็ก ต่อมาคือการมองเห็น จะพบว่าเด็กมองจากสิ่งใกล้ตัว เช่น มือของตัวเอง ก่อนที่จะมองไปตามเสียง ตามแสงสว่าง แล้วจะเริ่มสร้างความเคยชินจากการเรียนรู้นั้น จากเสียงพูด อย่างที่พูดแล้วว่า เสียงที่เด็กได้ยิน จะทำให้เด็กเปล่งเสียงออกมาได้ ความข้อนี้หากเด็กมีปัญหาเรื่องการฟัง เด็กจะพูดไม่ได้ หรือเปล่งเสียงออกมาผิดปกติ กระทั่ง เด็กเริ่มเติบโตขึ้นมา จากแรกคลอดถึง 2 ขวบ พัฒนาการของเด็กจะเริ่มปรับเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเด็กเริ่มพูดได้ บางคนก่อน 1 ขวบ บางคนเริ่มที่ 2 ขวบ ช้าเร็วขึ้นอยู่กับพัฒนาการฟัง เด็กอาจจะพูดได้ช้า แต่ที่รู้ว่าเด็กได้ยิน คือ จากอาการตั้งแต่ทารกนอนแบเบาะ เมื่อมีเสียงดังตึงตังก็จะสะดุ้ง หรือ เมื่อได้ยินเสียงและคำสั่งก็จะหันมามอง และรู้ว่าผู้ใหญ่พูดว่าอะไร เช่น คำสั่งให้ "หยุด" เป็นต้น เมื่อเด็กฟังได้รู้เรื่อง ก็เริ่มพูดได้รู้เรื่อง นี้คือประการสำคัญในการเรียนเรื่องภาษา เบื้องต้นของการเรียนภาษา คือเรียนเรื่องการฟัง ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะเด็กเกิดมาไม่ว่าชนชาติใด ก็ต้องฟังภาษาของชนชาตินั้น และเด็กเกิดที่ไหน อยู่กับใคร ก็สามารถพูดภาษานั้นได้ จากการฟังก่อน เมื่อฟังและพูดได้แล้ว จึงไปถึงขั้นของการอ่าน การพูดได้หลายภาษา ไม่ได้หมายถึงอ่านได้หลายภาษา เพราะการอ่านเกิดจากการเรียน ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ ดังนั้น ต้องให้กระตุ้นให้เด็กอยากฟังภาษานั้นให้ได้ เพื่อจะได้กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นมากกว่าการฟัง ซึ่งคือการฟัง การจดจำ การอ่านนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น