หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่3 " E-Thesis"

1. ชื่อเรื่อง

E-Thesis

2. ความหมาย

E-Thesis หมายถึงวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

3.ประวัติความเป็นมา
E-Thesis เกิดขึ้นมานั้นเนื่องจากปัจจุบันมีการทำวิทยานิพนธ์เกิดชขึ้นมากมายทั่วโลกทำให้ไม่มีใครสามรถเก็บข้อมูลที่เป็นงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์นี้ไว้ได้ เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการและมีความก้าวหน้าจนนำเทคโนโลยีจึงมีการค้นคว้าศึกษา จนทำให้มีผู้เก้บรวบรวมวิทยานิพนธ์ไว้ได้ ภายใต้ชื่อ E-Thesis ซึ่งปัจจุบันสามารถทำให้เป็นที่สืบค้นข้อมูล แนวทางในการทำวิจัยหรือแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย E-Thesis จึงเป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่งที่เหมาะกับท่านที่ต้องการหรือมีความประสงค์ศึกษาค้นคว้างานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง

4.วัตถุประสงค์

E-Thesis มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อให้บริการและเผยแพร่ในการนำไปใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากวิทยานิพนธ์

2.เพื่อสะดวกในการสืบค้น ค้นคว้างานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์

3.เพื่อโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกคน

5.เป้าหมาย

E-Thesis มีเป้าหมายที่จะช่วยให้บุคคลที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจับหรือวิทยานิพนธ์ได้ทุกเมื่อและเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดเพื่อบุคคลเหล่านั้นจะได้นำแนวทางในการทำงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ให้ได้งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อไป

6.ข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดีของ E-Thesis ได้แก่

1. เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์มากต่องานวิชาการ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์

2. สามารถค้นหาข้อมูลได้ 24 ชั่วโมง

3. การใช้งานไม่ขึ้นอยู่กับการเปิดให้บริการของห้องสมุด

4. การค้นหาทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน

5. การแสดงข้อมูลเป้นแบบ HTML file ดังนั้นการก็อปปี้ไปใช้งานและการแก้ไขข้อมูลทำได้ง่าย

6. สามารถ ค้นหา อ่าน พิมพ์ จากที่ใดก็ได้ที่มีจุดเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เนท โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าห้องสมุด

ข้อเสียของ E-Thesis ได้แก่

1. การเข้าดูบทคัดย่อจะต้องทำผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน

2. ระบบขัดข้องบ่อยทำให้ไม่สามารถหาข้อมูลได้

3. บทคัดย่อที่มีในฐานไม่ครอบคลุมครบถ้วน เนื่องจากมีปัยหาที่อยู่เหนือการครอบคลุมของผู้จัดทำเพราะข้อมุลที่ทางสถาบันต่างๆที่จัดส่งให้ไม่ครบถ้วน

4. เมนู/เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการกรองผลลัพธ์ให้น้อยหรือแคบลงไม่มี บางครั้งเวลาค้นก้ได้ข้อมูลที่มากเกินไปและไม่ตรงกับความต้องการ

7. วิเคราะห์

เหตุที่ทำให้มี E-Thesis วิเคราะหืที่ทำให้เกิดขึ้น ดังนี้

เนื่องจากสภาพแวดล้อมสังคมในปัจจุบันมีงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไว้มากมาย E-Thesis จึงสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันอย่างมากเพราะปัจจุบันมีการสืบค้นการค้นคว้า กทาทำงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทมคโนโลยีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนททั้งแบบสายและแบบไร้สายทำให้ต้องมีระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับปรุงใช้กับการศึกษา เช่น E-Thesis ก็เป้นเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้ความเจริญรุ่งเรืองของโลกปัจจุบัน โลกเทคโนโลยีสื่อสาร

งานชิ้นที่2 "งานนวัตกรรมทางการศึกษา"

1.ชื่อนวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา เมื่อใด
ชื่อนวัตกรรม : การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรม Authorware6
ประเภท : นวัตกรรมสื่อ อุปกรณ์ ชิ้นงาน
ผู้พัฒนา :นายสงวนศักดิ์แก้วมุงคุณ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
เมื่อ :26 กันยายน 2545

2.ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอน ผู้สอนจึงมีความจำเป็นต้องปรับบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ที่มีประสิทธิภาพ สื่อคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ช่วยสอนนี้ สามารถนำมาใช้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมถึงทฤาฎีต่างๆในการใช้คอมพิวเตอรืช่วยสอน และการใช้โปรแกรม Suthoreare6 มาใช้ในการสร้างสื่อการสอน

3.ขั้นตอนการพัฒนา
ขั้นตอนการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.กำหนดหัวเรื่อง
2.กำหนดเป้าประสงค์ของการสอน
3.การวิเคราห์ภาระกิจ
4.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5. จัดทำแบบทดสอบ
6. การจัดทำแผนภูมิการเรียนรู้
7. จัดทำรายละเอียดกรอบการนำเสนอ
8. การจัดลำดับการนำเสนอ
9. เลือกโปรแกรมนำเสนอบทเรียน
10. การจัดเตรียมทรัพยากร
11. ลงมือจัดทำบทเรียน
12. การตรวจสอบบทเรียน
13.การทดลองหาประสิทธิภาพ
14. จัดทำคู่มือการใช้


4. ลักษณะของนวัตกรรม
ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี ดังนี้
1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน


5. ผลการนำไปทดลองใช้

1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน

2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน


6. ความคิดเห็น
ข้อดีของนวัตกรรม
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
2. การใช้สี ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได้

4. ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5. ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยเฉพาะอย่าง ไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถบรรลุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้


ข้อจำกัดของนวัตกรรม
1. ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2. การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่าง ๆ
3. ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน เป็นต้นว่า ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
4. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
6. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้


ข้อเสนอแนะ
เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการนำเสนอให้มีการรายงานแสดงผลงานผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรได้รับการสนับสนุนเพื่อเป้นแบบอย่างและเป็นประโยชนืต่อการศึกษษต่อไป

งานชิ้นที่1 "จุดเริ่มต้นของการศึกษา"

"จุดเริ่มต้นของการศึกษา"
พระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้ "การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"
จุดเริ่มต้นของการศึกษาต้องเริ่มจากการฟัง
ทำไม? ทำไมถึงข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่าการศึกษาเริ่มต้นจากการฟัง มนุษย์มีนิสัยบางอย่างติดตัวมาตั้งแต่ปฏิสนธิ ด้วยเซลล์สมองเริ่มก่อตัวขึ้นมานับตั้งแต่แรกเกิด และเติบใหญ่ สร้างปมและหยักของเส้นสมองขึ้นมากระทั่งคลอด จากนั้นยังจะพัฒนาการต่อไป ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก จะเป็นตัวอย่างให้เกิดกับเด็กได้ เช่น การอ่าน การอ่านเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ การอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ทำให้เกิดการศึกษาเรียนรู้ การศึกษาเรียนรู้ ทำให้เกิดการสื่อสาร การสื่อสาร ทำให้เกิดการสร้างเครื่องมือสื่อสารถึงกัน เครื่องมือสื่อสาร ทำให้เกิดการบันทึก การบันทึก ทำให้เกิดการสืบทอดสร้างนวัตกรรมต่อยอด ทำให้มนุษย์ไม่ต้องย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นทุกครั้ง ดังนั้น การสร้างนิสัยรักการอ่าน จึงมีช่องทางทำได้หลายประการ ประการแรก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องรักการอ่านเสียก่อน มากน้อยแล้วแต่บุคคลผู้นั้น มีความรู้อยากเห็นมากน้อยเพียงใด เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองมีนิสัยรักการอ่าน บุตรหลานที่ใกล้ชิด ก็จะรักการอ่านตามไปด้วย แม้ไม่ทั้งหมด ว่ากันว่า มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา และไม่เพียงแต่มารดาเท่านั้นที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้กับลูก ผู้เป็นบิดาก็สามารถถ่ายทอดความรักให้กับลูกได้เช่นกัน เพราะในการแสดงความรักต่อกันฉันสามีภรรยา ทำให้ทารกในครรภ์ได้รู้ถึงความรัก ความอ่อนโยนนั้นด้วย
ความข้อนี้ มีหลักฐานทางการแพทย์ ขอให้เสาะหาเองเถิด หลังจากคลอดออกมาแล้ว สภาพแวดล้อมที่สำคัญของทารก คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดคือ "แม่" รองลงมาคือ "พ่อ" ก่อนจะไปถึงญาติพี่น้องคนอื่น สภาพแวดล้อมประการอื่น คือ สถานที่อยู่อาศัย เด็กเริ่มเรียนรู้ที่สังเกตได้ชัดเจน คือ การเรียนรู้ในเรื่องของความอยู่รอดจากอาหาร ไม่ว่าจะจากน้ำนมของแม่ หรือ น้ำนมอื่นที่ใช้เลี้ยงทารก อันเกิดจากการป้อนตามเวลาที่ต้องการ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่ค่อนข้างแน่นอน จากนั้น เด็กจะเรียนรู้จากเสียง แสง สี รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงอื่น แสงสว่าง ความมืด หรือ สีที่เกิดจากแสง การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบข้างตัวเด็ก ต่อมาคือการมองเห็น จะพบว่าเด็กมองจากสิ่งใกล้ตัว เช่น มือของตัวเอง ก่อนที่จะมองไปตามเสียง ตามแสงสว่าง แล้วจะเริ่มสร้างความเคยชินจากการเรียนรู้นั้น จากเสียงพูด อย่างที่พูดแล้วว่า เสียงที่เด็กได้ยิน จะทำให้เด็กเปล่งเสียงออกมาได้ ความข้อนี้หากเด็กมีปัญหาเรื่องการฟัง เด็กจะพูดไม่ได้ หรือเปล่งเสียงออกมาผิดปกติ กระทั่ง เด็กเริ่มเติบโตขึ้นมา จากแรกคลอดถึง 2 ขวบ พัฒนาการของเด็กจะเริ่มปรับเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเด็กเริ่มพูดได้ บางคนก่อน 1 ขวบ บางคนเริ่มที่ 2 ขวบ ช้าเร็วขึ้นอยู่กับพัฒนาการฟัง เด็กอาจจะพูดได้ช้า แต่ที่รู้ว่าเด็กได้ยิน คือ จากอาการตั้งแต่ทารกนอนแบเบาะ เมื่อมีเสียงดังตึงตังก็จะสะดุ้ง หรือ เมื่อได้ยินเสียงและคำสั่งก็จะหันมามอง และรู้ว่าผู้ใหญ่พูดว่าอะไร เช่น คำสั่งให้ "หยุด" เป็นต้น เมื่อเด็กฟังได้รู้เรื่อง ก็เริ่มพูดได้รู้เรื่อง นี้คือประการสำคัญในการเรียนเรื่องภาษา เบื้องต้นของการเรียนภาษา คือเรียนเรื่องการฟัง ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะเด็กเกิดมาไม่ว่าชนชาติใด ก็ต้องฟังภาษาของชนชาตินั้น และเด็กเกิดที่ไหน อยู่กับใคร ก็สามารถพูดภาษานั้นได้ จากการฟังก่อน เมื่อฟังและพูดได้แล้ว จึงไปถึงขั้นของการอ่าน การพูดได้หลายภาษา ไม่ได้หมายถึงอ่านได้หลายภาษา เพราะการอ่านเกิดจากการเรียน ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ ดังนั้น ต้องให้กระตุ้นให้เด็กอยากฟังภาษานั้นให้ได้ เพื่อจะได้กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นมากกว่าการฟัง ซึ่งคือการฟัง การจดจำ การอ่านนั้นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553